Miss.Pimmada

Miss.Pimmada
สวย!

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การใช้กลวิธีการเรียนแบบพี แอล เอ เอ็น เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ ในการอ่านภาษาอังกฤษและความสามารถในการเขียนย่อความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


ชื่อเรื่อง               การใช้กลวิธีการเรียนแบบพี  แอล  เอ  เอ็น  เพื่อส่งเสริมความเข้าใจ
ในการอ่านภาษาอังกฤษและความสามารถในการเขียนย่อความ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้เขียน                               นายวัชรกร  ศิริคริสตธรรม
 
ปีการศึกษา          2554


บทคัดย่อ


                  การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน
ภาษาอังกฤษและความสามารถในการเขียนย่อความของนักเรียน  ก่อนและหลังการใช้กลวิธี
การเรียนแบบพี  แอล  เอ  เอ็น  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1  แผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์  
โรงเรียนนามนพิทยาคม  อำเภอนามน  จังหวัดกาฬสินธุ์  จำนวน  40  คน  ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2  ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  ได้แก่   แผนการสอน
ที่ใช้กลวิธีการเรียนแบบพี  แอล เอ  เอ็น  จำนวน  18  แผน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ  และแบบวัดความสามารถในการเขียนย่อความภาษาอังกฤษ  ทำการทดสอบก่อนและหลังการสอน  จากนนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้
วิธีหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าเฉลี่ยร้อยละ
                  ผลการศึกษาค้นคว้า  พบว่า
                        1.  นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการเรียนแบบพี  แอล  เอ  เอ็น  มีคะแนน
ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 
                        2.  นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการเรียนแบบพี  แอล  เอ  เอ็น  มีคะแนน
ความสามารถในการเขียนย่อความเพิ่มขึ้น  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง การใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษจากการควบคุมไปสู่การเขียนอิสระ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ชื่อเรื่อง                การใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษจากการควบคุมไปสู่การเขียนอิสระ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้เขียน            นางเพ็ญศรี  ภูโสภา
                                                           
ปีการศึกษา          2554

       บทคัดย่อ

               การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษจากการควบคุมไปสู่การเขียนอิสระ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบฝึกทักษะ  เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ  และหาประสิทธิภาพของชุดการสอน 
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ  นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนมอสวนขิงพิทยาสรรพ์  อำเภอนามน  จังหวัดกาฬสินธุ์   ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2554  จำนวน  24   คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ
การเขียนภาษาอังกฤษจากการควบคุมไปสู่การเขียนอิสระ  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบ
แบบฝึกทักษะการเขียน  แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ  วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แบบฝึกการเขียนสร้างขึ้นโดยนำวิธีการสอนเขียนแบบเขียนจากการควบคุมไปสู่การเขียนอิสระมาใช้เป็นแนวหลักในการสร้างแบบฝึกการเขียน 
จำนวน  10   แบบฝึก  ดังนี้  การพูดแนะนำตนเองและผู้อื่น  จำนวน  แบบฝึก  การถามตอบเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน   จำนวน 2 แบบฝึก  การถามตอบเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย 
จำนวน  2  แบบฝึก  การเรียนรู้เกี่ยวกับทิศทาง  ตำแหน่ง  สถานที่  จำนวน  2  แบบฝึก 
การถามตอบเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม  จำนวน  2  แบบฝึก  การบอกจำนวนคำนามเอกพจน์
และพหูพจน์  จำนวน 2 แบบฝึก  การถามตอบเกี่ยวกับอาชีพ  2  แบบฝึก  แต่ละแบบฝึกใช้เวลา
ในการสอน  ชั่วโมง   เวลาที่ใช้ในการทดลองสอน  20  วัน  โดยสอนวันละ  ชั่วโมง   
                  ทุกแบบฝึกที่สร้างขึ้นมีแผนการสอนประจำแบบฝึก  โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ  ดังนี้                1)  กำหนดการสอน  2)  ตารางวิเคราะห์เนื้อหาการเรียนรู้  3)  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  4)  กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งใช้แบบฝึกการเขียนภาษาอังกฤษจากการควบคุมไปสู่การเขียนอิสระ
และแบ่งออกเป็น  ขั้นตอน  ได้แก่  กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน  กิจกรรมอ่านบัตรคำ 
กิจกรรมการเขียน  5) สื่อการเรียน
                  ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเขียนที่สร้างขึ้น  ปรากฏว่า  คะแนนความสามารถ
ในการเขียนภาษาอังกฤษหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 
คือ  นักเรียนจำนวน  26  คน ก่อนเรียนทำแบบทดสอบได้คะแนนเฉลี่ย  6.58  จากคะแนนเต็ม 
40  คะแนน  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.97  จากคะแนนเต็ม  40  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  65.83 
ส่วนแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย  16.13   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  1.65  คิดเป็น
ร้อยละ  80.63  แบบฝึกทักษะการเขียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ  82.83/80.63 
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้  แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เมื่อผ่านการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษแล้ว  จะมีความสามารถในการเขียนคำและประโยคเพิ่มขึ้น

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง การสร้างชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ชื่อเรื่อง                การสร้างชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 
โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
 
ผู้ศึกษาค้นคว้า    นางสาวณัชชริดา  ศิริกุล

ปีการศึกษา          2554


บทคัดย่อ


                  การศึกษาครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 
โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  และหาประสิทธิภาพของชุดการสอน 
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ 
ได้โดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
จำนวน  4  ห้อง  จำนวนนักเรียน  129  คน  เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/จำนวน  32  คน  
ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  ได้แก่  ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน  จำนวน  6  ชุด  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ  จำนวน  18  แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  40  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่า  t-test  (Dependent  Samples)
                  ผลการศึกษาค้นคว้า  พบว่า  ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  โดยใช้กิจกรรม
การเล่านิทาน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ  82.83/88.40 
มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้  และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 
                  โดยสรุป  การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ  โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน  
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ทำให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงขึ้น
ตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้